Time for your next adventure
Let us plan it for you
เที่ยวที่ไหน..ก็โดนใจ
00
ภูฎาน ดินแดนมังกรสายฟ้า
4 คืน 5 วัน พาโร-ทิมพู-ปูนาคา
20-24 กรกฎาคม 2567
27-31 กรกฎาคม 2567
10-14 ตุลาคม 2567
พิเศษ
⭕แถม sim card
⭕ขี่ม้าขึ้นทักซัง 1 ขา
⭕เกมส์ยิงธนู
⭕ใส่ชุดแต่งกายประจำชาติ
ประเทศภูฎาน
ภูฏาน (Bhutan) (อ่านว่า พู-ตาน /buː'tɑːn ) หรือชื่อทางการคือ ราชอาณาจักรภูฏาน (Kingdom of Bhutan) เป็นประเทศที่มีขนาดเล็กในภูมิภาคเอเชียใต้ ่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ในแถบเทือกเขาหิมาลัย คั้นกลางระหว่างประเทศอินเดียกับจีน
ภูมิประเทศส่วนใหญ่ของภูฏานเป็นภูเขา ยอดเขาสูงที่สุดอยู่ติดพรมแดนทิเบต คือ Gangkhar Puensum Peak สูงจากระดับน้ำทะเล 7,541 เมตร
ชื่อในภาษาท้องถิ่นของประเทศคือ Druk Yul (อ่านว่า ดรุก ยุล) แปลว่า "ดินแดนของมังกรสายฟ้า (Land of the Thunder Dragon) "นอกจากนี้ยังเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า Druk Tsendhen เนื่องจากที่ภูฏานเวลาเกิดเสียงของสายฟ้าฟาด จะถือว่าเป็นเสียงของมังกร มีที่มาจากเรื่องเล่าว่า ตอนต้นศตวรรษที่ 11 มีลามะชาวทิเบตองค์หนึ่งเดินทางมาหาทำเลที่ตั้งวัดใหม่ในตอนกลางของทิเบต เมื่อมาถึงสถานที่สร้างวัด ท่านได้ยินเสียงฟ้าร้อง ดังกัมปนาทเหมือนเสียงคำรามของมังกร (สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของคนบนเทือกเขาหิมาลัย)ท่านจึงตั้งชื่อวัดแห่งนั้นว่า Druk (มังกร) และตั้งชื่ออาศรมที่ใช้เป็นสถานที่เผยแพร่ศาสนาว่า Drukpa
เมื่อชาวภูฏานได้ครอบครองดินแดนในแถบนี้จึงใช้ชื่อประเทศว่า Druk Yul และเรียกตัวเองว่า ดรุกปาส-Drukpa (Drukpas)
ส่วนชื่อ ภูฏาน (Bhutan) มาจากคำสมาสในภาษาสันสกฤต ภู-อุฏฺฏาน อันมีความหมายว่า "แผ่นดินบนที่สูง" (ในภาษาฮินดี สะกด भूटान ถอดเป็นตัวอักษรคือ ภูฏาน)ซึ่งในอดีตเรียกภูฏานว่า Bhotanta หมายถึงดินแดนทางตอนเหนือของทิเบต
ประชากร
จำนวนประชากร 752,700 คน (เมื่อปี พ.ศ. 2547)
เชื้อชาติ ประกอบด้วย 3 เชื้อชาติ ได้แก่
o ชาร์คอป (Sharchops) ชนพื้นเมืองดั้งเดิม ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันออก
o งาลอบ (Ngalops) ชนเชื้อสายธิเบต ส่วนใหญ่อยู่ทางภาคตะวันตก
o โลซาม (Lhotshams) ชนเชื้อสายเนปาล ส่วนใหญ่อยู่ทางใต้
กลุ่มประชากรของภูฏาน แบ่งออกเป็นกลุ่มต่างๆ คือ
o กลุ่มดรุกปา (Drukpas) ซึ่งสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ
o กลุ่ม เนปาล (Lhotshams) คือส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ทางตอนใต้ของประเทศ แต่ปัจจุบันนี้ทางรัฐบาลของประเทศภูฏาน ได้พยายามผลักดันให้ประชากรเหล่านี้กลับไปยังถิ่นฐานเดิมคือประเทศเนปาล
o กลุ่มชนอื่น ๆ อีก 13% คือชาวสิกขิมและอินเดีย
วัฒนธรรม
ภาษาประจำชาติ คือภาษาซองคา (Dzongkha) ซึ่งแต่เดิมเป็นภาษาท้องถิ่นแถบตะวันตกของภูฏาน ต่อมาได้กลายเป็นภาษาประจำชาติ เขียนด้วยอักษรทิเบต นอกจากนั้นมีการใช้ภาษาถิ่นที่ต่างไปในแต่ละพื้นที่ ภาษาของชาวภูฏานคล้ายภาษาทิเบตชาวเนปาลทางภาคใต้พูดภาษาเนปาลี ทางตะวันออกพูดภาษาชาชฮอป ภาษาอังกฤษเป็นภาษาที่ใช้ทั่วไป ในโรงเรียนมีการสอนภาษาอังกฤษเป็นวิชาบังคับ ดังนั้น ชาวภูฏานจึงรู้ภาษาอังกฤษและใช้สื่อสารได้ ชาวภูฏานในแต่ละภูมิภาคมีภาษาพูดต่างกัน เช่น คนที่อยู่ทางภาคตะวันออกพูดภาษา Sharchop ส่วนทางใต้ที่มีพลเมืองเชื้อสายเนปาลพูดภาษาเนปาลี และในตอนลางของประเทศ ตามหมู่บ้านเล็กๆที่อยู่ห่างไกลเมืองใช้ภาษาในท้องถิ่นสื่อสารกัน ภาษาอังกฤษจึงเป็นภาษากลางที่ใช้ได้กับคนภูฏานทุกภาค
เครื่องแต่งกายประจำชาติ ผู้ชายเรียกว่า โฆ (Kho) ส่วนของผู้หญิงเรียกว่า ฆีระ (Khira)
วันหยุดและเทศกาล
สัญลักษณ์ธงชาติของภูฏาน
สีเหลือง ครึ่งบนของธงชาติ หมายถึง อำนาจของพระมหากษัตริย์ เป็นสีที่แสดงถึงความเจริญรุ่งเรืองทั้งทางโลกและทางธรรม
สีส้ม ครึ่งล่างของธงชาติ หมายถึง การปฏิบัติธรรมและความเลื่อมใสและศรัทธาของชาวภูฏานที่มีต่อศาสนาพุทธ
มังกรที่อยู่ตรงกลางของธงชาติ หมายถึง ประเทศดรุกยุล มีความหมายว่าดินแดนแห่งมังกรสายฟ้า ตัวมังกรมีสีขาวบริสุทธิ์ อันเป็นการแสดงออกถึงความจงรักภักดีของคนทุกเชื้อชาติ ทุกภาษาที่อยู่ในประเทศ ท่าทีที่มังกรกำลังอ้าปากคำรามนั้น แสดงออกถึงความมีอำนาจน่าเกรงขามของเหล่าพระผู้เป็นเจ้าทั้งชายและหญิงที่ปกป้องภูฏาน
ไฟฟ้า กระแสไฟที่ใช้คือ 220 โวลท์ (ควรเตรียม Adapterในการเดินทาง)
น้ำประปา ท่านไม่ควรที่จะดื่มน้ำโดยตรงจากก๊อก แนะนำว่าควรดื่มน้ำขวด
เวลา เวลาของ ภูฎาน จะช้ากว่าที่เมืองไทย 1 ชั่วโมง
ภูมิประเทศ
ประเทศภูฏานเป็นประเทศที่มีขนาดเล็ก มีพื้นที่ประมาณ 38,394 ตารางกิโลเมตร (ขนาดใกล้เคียงกับประเทศสวิตเซอร์แลนด์) โดยสามารถแบ่งภูมิประเทศ 3 ลักษณะ
1. เทือกเขาสูงตอนเหนือ เป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาหิมาลัย
2. ที่ลาดเชิงเขา พบตอนกลางของประเทศ
3. ที่ราบ พบตอนใต้ของประเทศ มีแม่น้ำพรหมบุตรพาดผ่าน
ภูฏานมีพื้นที่ป่าถึง 60% มีอุทยานแห่งชาติ 4 แห่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 4 เขตสงวนธรรมชาติ 1 แห่ง คิดเป็น 35% ของพื้นที่ประเทศ ในพื้นที่ดังกล่าวมีสัตว์และพืชหายากมากกว่า 7,000 ชนิด มีกล้วยไม้เฉพาะถิ่น 300 เขต และพันธุ์ไม้หายากอีกราว 500 ชนิด และมีสมุนไพรหายากราว 150 ชนิด
เพลงชาติ ประพันธ์ขึ้นเมื่อปี ค. ศ. 1966 ในช่วงแรกของบทเพลงจะกล่าวไว้ว่า "In the Kingdom of the Dragon, The Southern land of Sandalwood, Long Live the King Who Directs the affairs of both state and religion..."
โทรศัพท์ โทรศัพท์สาธารณะใน ภูฎาน เพื่อความสะดวกกรุณาติดต่อกับทางโรงแรมที่ท่านพัก
โทรศัพท์มาประเทศไทยด้วยโทรศัพท์
001 + 66 + รหัสเมือง + หมายเลขที่ต้องการ
โทรศัพท์จากประเทศไทยสู่ประเทศภูฎาน
001 + 975 + รหัสเมือง + หมายเลขที่ต้องการ
ภูมิอากาศ
เนื่องจากภูฏานเป็นประเทศขนาดเล็ก ลักษณะภูมิอากาศจึงไม่แตกต่างกันมากนัก โดยมากเป็นภูมิอากาศแบบกึ่งร้อนมีฝนชุก ยกเว้นตอนเหนือซึ่งเป็นภูเขาสูง ทำให้มีอากาศแบบหนาวเทือกเขา
อากาศ กลางวัน 25 - 15 องศาเซลเซียส กลางคืน 10 - 5 องศาเซลเซียส มี 4 ฤดู คือ
สกุลเงินของภูฏาน คือ
งุลตรัม- Ngultrum (เรียกสั้นๆว่า นู-Nu)
1 นู(Nu.) มี 100 Cheltrum (เชลตรัม)
อัตราแลกเปลี่ยน (ณ วันที่ 3 เมษายน 2024)
1 เหรียญสหรัฐฯ =83.37 นู
และ 1 บาท = 2.28 นู
ค่าเงินของภูฏานผูกไว้กับค่าเงินรูปีของอินเดีย สามารถใช้เงินรูปียังสามารถใช้ชำระหนี้ได้ตามกฎหมายอีกด้วย
การใช้บัตรเครดิตต่างๆในภูฏานไม่ค่อยสะดวกนัก เพราะมีร้านค้าน้อยแห่งรับบัตรเครดิต บัตรเครดิตที่ยอมรับทั่วไปคือ บัตรวีซ่า และบัตรอเมริกันเอ็กซ์เพรส
การแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศและแลกเช็คเดินทางทำได้ที่ธนาคารแห่งชาติภูฏาน (Bhutan National Bank-BNB) และธนาคารภูฏาน (Bank of Bhutan-BOB) ในเมืองทิมพู รวมถึงเคาร์เตอร์แลกเงินในสนามบิน
สัญลักษณ์ประจำชาติ
ต้นไม้ประจำชาติ : ต้นสนไซปรัส
ดอกไม้ประจำชาติ : ดอกป๊อปปี้สีฟ้า
สัตว์ประจำชาติ : ทาคิน (Takin) เป็นสัตว์ที่หายาก
เพราะมีอยู่ในดินแดนภูฏานเพียงแห่งเดียว
อาหารภูฎาน...น่าลอง
Zaow -ข้าวตัง มักทานคู่กับน้ำชา
Khur-Le -ขนมแพนเค้ก ที่ทำจากธัญพืช
Puta -ก๋วยเตี๋ยวที่นำเส้นมาผัดกับน้ำมันมัสตาด เกลือ พริกเสฉวน
Jaju -แกงจืดผักรวม ปรุงรสด้วยนม และเนยสด
Khatem -มะระผัดเนย และซอสปรุงรส
Sikam Paa -หมูสามชั้นผัดพริกแห้ง
Goen Hogay -สลัดแตงกวา ปรุงด้วยพริกป่น พริกเสฉวน ซีส
Yaksha Shakam -เนื้อจามรี คลุกกับชีส
Tshampa -ขนมปังโฮลวีต สามารถทานคู่กับเมนูหลัก
Ezay - ซอสพริก ทำจากพริกแห้ง พริกเสฉวน มะเขือเทศ ซีส
Jasha Maru - แกงไก่ใส่ขิง
Goep - ผ้าขี้ริ้ววัว ผัดพริกแห้ง
Kewa Datshi - มันฝรั่งผัดชีส
Hoentay - เกี๊ยวสอดไส้ผักขม ผักกาด ชีส
Momos - เกี๊ยวสอดไส้หมูสับ ผักต่างๆทานคู่กับซอสพริก
Shakam Ema Datshi- พริกผัดชีสมีเนื้อวัวแห้ง
Shakam Shukam Datshi - พริกแห้งขาวนำมาปรุงรสให้เปรี้ยวและเผ็ด
Chogoo หรือ Chhurpi ชีสแข็ง นิยมทานเป็นอาหารว่าง
Lom ผักกาดดอง
Phaksha Paa - เนื้อวัวหรือเนื้อจามรี ผัดพริกกับผัก
Ema Datshi - พริกผัดชีส เมนูยอดนิยม
Juma ไส้กรอกเนื้อ
Gondo Datshi - ไข่ทอด พร้อมชีสและเนย
Shamu Datshi - เห็ดปรุงรสชีสและเนย
Shakam Paa-เนื้อวัวผัดพริกแห้งและหัวไชเท้า
มีอะไรน่าช้อป...กันจ๊ะ
เครื่องประดับ
ถั่งเชา หรือสมุนไพร
ข้าวแดง
ผ้าพันคอ (สิ่งทอ)
งานไม้แกะสลัก
แสตมป์/โปสการ์ด
พรมขนจามรี
ชุดประจำชาติ
Let's plan your next trip
Address
160/22 ฺบ้านสันอุ้ม ตำบลเ ชิงดอย
อำเภอ ดอยสะเก็ด
จังหวัด เชียงใหม่
THAILAND
50220
Contact
Mobile: (+669) 915 4639
insideasia@hotmail.com
Office Hours
Monday-Friday : 8.30 am – 5 pm
Saturday : 9.00 am-12.00 (noon)